บริษัท คาราบาว จำกัด



คาราบาว

ที่มาและประวัติ คาราบาว กรุ๊ป
            “บริษัท คาราบาวตะวันแดง จำกัด”ได้จัดตั้ง ขึ้นเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2544 เพื่อประกอบธุรกิจหลักในการผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มบำรุงกำลังคาราบาวแดง โดยมีทุนจดทะเบียนจำนวน 1 ล้านบาท บริษัทฯ ได้เปิดตัวเครื่องดื่มบำรุงกำลังภายใต้เครื่องหมายการค้า  "คาราบาวแดง" เข้าสู่ตลาดในประเทศไทยเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2545 ซึ่งเป็นการเป็นการนำชื่อของ วงคาราบาว มาผสมผสานกับชื่อของ โรงเบียร์ เยอรมันตะวันแดง ภายใต้สโลแกน “คาราบาวแดง เชิดชูนักสู้ผู้ยิ่งใหญ่”
เมื่อธุรกิจผลิต ทำการตลาดและจำหน่ายเครื่องดื่มบำรุงกำลังได้เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง กลุ่มผู้ถือหุ้นได้เล็งเห็นโอกาสในการขยายธุรกิจให้ครอบคลุมให้ครบวงจร ตั้งแต่ขบวนการหาวัตถุดิบหลัก การผลิต การตลาด และการจัดจำหน่ายให้ถึงมือผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้ตั้งบริษัท คาราบาวกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ขึ้น เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2557 และนำบริษัทฯ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2557

บริษัท คาราบาวกรุ๊ป จำกัด ( มหาชน ) และบริษัทย่อยของบริษัทฯ ได้แก่
บริษัท คาราบาว ตะวันแดง จำกัด CBD
Carabao Tawandang Co., Ltd. ( CBD )
บริษัท ตะวันแดง ดีซีเอ็ม จำกัด DCM 
Tawandang DCM Co., Ltd. ( DCM )
บริษัท เอเชียแปซิฟิกกลาส จำกัด APG 
Asia Pacific Glass Co., Ltd. ( APG )

เหตุการณ์พัฒนาการที่สำคัญของกลุ่มบริษัทฯ
ปี 2544
จดทะเบียนจัดตั้ง CBD ด้วยทุนจดทะเบียนแรกเริ่ม 1.0 ล้านบาทแบ่งออกเป็นหุ้นสามัญ 10,000.0 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100.0 บาท  
 โดยเป็นการร่วมทุนระหว่าง นายเสถียร เศรษฐสิทธิ์  นางสาวณัฐชไม ถนอมบูรณ์เจริญ และ นายยืนยง โอภากุล   (แอ๊ด คาราบาว)
 เพื่อดำเนินธุรกิจผลิต ทำการตลาดและจำหน่ายเครื่องดื่มบำรุงกำลัง
CBD เริ่มดำเนินการติดตั้งเครื่องจักรในโรงงานเพื่อใช้ในการผลิตเครื่องดื่มบำรุงกำลัง

ปี 2545
CBD เพิ่มทุนจดทะเบียนจำนวน 99.0 ล้านบาทแบ่งออกเป็นหุ้นสามัญ 990,000.0 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100.0 บาทส่งผลให้ทุนจดทะเบียนเพิ่มขึ้นจากเดิม 
1.0 ล้านบาทเป็น 100.0 ล้านบาทต่อมามีการเพิ่มทุนจดทะเบียนอีกครั้งหนึ่งจำนวน 30.0 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญ 300,000.0 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้
หุ้นละ 100.0 บาท ส่งผลให้ทุนจดทะเบียนเพิ่มขึ้นจากเดิม 100.0 ล้านบาทเป็น 130.0 ล้านบาท เพื่อซื้อเครื่องจักรในการผลิตเครื่องดื่มบำรุงกำลังและ
ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน     โรงงานผลิตคาราบาวแดงซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลบางเพรียง อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ โดยมีสายการบรรจุขวดสามสายการผลิตคิดเป็นกำลังการผลิตสูงสุดทั้งสิ้น 275 ล้านขวดต่อปี
เดือนตุลาคม CBD เปิดตัวเครื่องดื่มบำรุงกำลังภายใต้เครื่องหมายการค้าคาราบาวแดงโดยในขณะนั้น CBD ได้แต่งตั้งบริษัทจัดจำหน่ายสินค้าระดับประเทศเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้จัดจำหน่ายเครื่องดื่มคาราบาวแดงภายในประเทศแต่เพียงผู้เดียว

ปี 2546
CBD เพิ่มทุนจดทะเบียนจำนวน 70.0 ล้านบาท โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุน 700,000.0 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100.0 บาท ส่งผลให้ทุนจดทะเบียนเพิ่มขึ้นจากเดิม 130.0 ล้านบาทเป็น 200.0 ล้านบาท เพื่อขยายกำลังการผลิตโดยดำเนินการติดตั้งสายการบรรจุขวดสามสายการผลิตคิดเป็นกำลังการผลิตสูงสุดทั้งสิ้น 273 ล้านขวดต่อปี ส่งผลให้ CBD มีกำลังการผลิตสูงสุดเพิ่มขึ้นจากเดิม 275 ล้านขวดต่อปี เป็น 548 ล้านขวดต่อปี

ปี 2547
CBD ติดตั้งสายการบรรจุกระป๋องหนึ่งสายการผลิตโดยมีกำลังการผลิตสูงสุดทั้งสิ้น 117 ล้านกระป๋อง ต่อปี
CBD เริ่มประกอบธุรกิจส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มบำรุงกำลังไปยังตลาดต่างประเทศเป็นครั้งแรก

ปี 2553
CBD เพิ่มสายการบรรจุกระป๋องจำนวนหนึ่งสายการผลิต คิดเป็นกำลังการผลิตสูงสุดทั้งสิ้น 88 ล้านกระป๋องต่อปี ส่งผลให้มีกำลังผลิตสูงสุดเพิ่มขึ้นจากเดิม 117 ล้านกระป๋องต่อปี เป็น 205 ล้านกระป๋องต่อปี

ปี 2554
CBD เพิ่มสายการบรรจุขวดจำนวนสองสายการผลิต คิดเป็นกำลังการผลิตสูงสุดทั้งสิ้น 182 ล้านขวดต่อปี ส่งผลให้มีกำลังผลิตสูงสุดเพิ่มขึ้นจากเดิม 548 ล้านขวดต่อปี เป็น 730 ล้านขวดต่อปี

ปี 2555
จดทะเบียนจัดตั้ง DCM ด้วยทุนจดทะเบียนแรกเริ่ม 1.0 ล้านบาทแบ่งออกเป็นหุ้นสามัญ 10,000.0 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100.0 บาท และมีการเพิ่มทุนจดทะเบียนอีกครั้งหนึ่งจำนวน 99.0 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญจำนวน 990,000.0 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100.0 บาท ส่งผลให้ทุนจดทะเบียนของ DCM เพิ่มขึ้นจากเดิม 1.0 ล้านบาทเป็น 100.0 ล้านบาท เพื่อประกอบธุรกิจในการบริหารจัดการการจัดจำหน่ายเครื่องดื่มในประเทศ
CBD ได้แต่งตั้ง DCM ให้เป็นผู้บริหารจัดการการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของ CBD อย่างเป็นทางการแทนผู้จัดจำหน่ายภายนอก

ปี 2556
CBD ติดตั้งสายการบรรจุขวดเพิ่มอีกสองสายการผลิต คิดเป็นกำลังการผลิตสูงสุดทั้งสิ้น 120 ล้านขวดต่อปี ส่งผลให้ CBD มีกำลังการผลิตสูงสุดเพิ่มขึ้นจากเดิม 730 ล้านขวดต่อปีเป็น 850 ล้านขวดต่อปี เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจผลิต ทำการตลาดและจำหน่ายเครื่องดื่มบำรุงกำลัง
CBD ติดตั้งสายการบรรจุกระป๋องจำนวนหนึ่งสายการผลิต โดยมีกำลังผลิตสูงสุดทั้งสิ้น 145 ล้านกระป๋องต่อปี ส่งผลให้มีกำลังผลิตสูงสุดเพิ่มขึ้นจากเดิม 205 ล้านกระป๋องต่อปี เป็น 350 ล้านกระป๋องต่อปี

ปี 2557
CBD ติดตั้งสายการบรรจุขวด "Krones" จำนวนหนึ่งสายการผลิต คิดเป็นกำลังการผลิตสูงสุดทั้งสิ้น 350 ล้านขวดต่อปี ส่งผลให้ CBD มีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดิม 850 ล้านขวดต่อปีเป็น 1,200 ล้านขวดต่อปี
CBD ได้นำสายการบรรจุขวดเครื่องดื่มบำรุงกำลังเดิมจำนวนสองสายการผลิต คิดเป็นกำลังการผลิตสูงสุดทั้งสิ้น 120 ล้านขวดต่อปี มาใช้เป็นสายการบรรจุขวดเครื่องดื่มเกลือแร่ การปรับปรุงสายการผลิตดังกล่าวส่งผลให้ CBD มีกำลังการผลิตเครื่องดื่มบำรุงกำลังคงเหลือเท่ากับ 1,080 ล้านขวดต่อปี และมีกำลังการผลิตเครื่องดื่มเกลือแร่สูงสุดทั้งสิ้น 120 ล้านขวดต่อปี
เดือนพฤษภาคม CBD เปิดตัวเครื่องดื่มเกลือแร่ในประเทศไทยภายใต้เครื่องหมายการค้า"สตาร์ท พลัส"
ก่อนการเสนอขายหุ้นสามัญของบริษัทฯ ต่อประชาชนในครั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 6/2557 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2557 ได้มีมติอนุมัติการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทฯ จำนวน 279.0 ล้านบาท ทั้งนี้ ผลกระทบต่อฐานะทางการเงินของบริษัทฯ สำหรับการจ่ายเงินปันผลดังกล่าวได้เปิดเผยไว้ในส่วนที่ 2.4 หัวข้อ 16 การวิเคราะห์และคำอธิบายของฝ่ายจัดการ
บริษัทฯ เพิ่มทุนจดทะเบียนจำนวน 230.0 ล้านบาท โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุน 2.3 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100.0 บาท ส่งผลให้ทุนจดทะเบียนเพิ่มขึ้นจากเดิม 620.0 ล้านบาทเป็น 850.0 ล้านบาทเพื่อ (1) ปรับโครงสร้างกลุ่มบริษัทฯ โดยบริษัทฯ เข้าถือหุ้นเพิ่มเติมใน CBD อีกร้อยละ 30.0 ด้วยการซื้อหุ้นสามัญใน CBD จากผู้ถือหุ้นเดิมตามมูลค่าที่ตราไว้คิดเป็นมูลค่า 90.0 ล้านบาท ส่งผลให้บริษัทฯ ถือหุ้นใน CBD ในสัดส่วนร้อยละ 100.0 (รายละเอียดของการปรับโครงสร้างได้เปิดเผยไว้ในส่วนที่ 2.3 หัวข้อ 14 รายการระหว่างกัน) และ (2) ชำระทุนจดทะเบียนใน APG จำนวน 140.0 ล้านบาทเพื่อใช้ในการก่อสร้างโรงงานผลิตขวดแก้วสีชา
บริษัท คาราบาวกรุ๊ป จำกัด แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน จำกัด และเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น "บริษัท คาราบาวกรุ๊ป จำกัด (มหาชน)" และได้ดำเนินการเปลี่ยนมูลค่าที่ตราไว้จากเดิมหุ้นละ 100.0 บาทเป็นหุ้นละ 1.0 บาท อีกทั้งออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 150.0 ล้านหุ้น เพื่อเสนอขายให้แก่ประชาชน (รายละเอียดการปรับโครงสร้างทุนเปิดเผยอยู่ในส่วนที่ 2 หัวข้อ 9 ข้อมูลหลักทรัพย์และผู้ถือหุ้น)
เดือนสิงหาคม โรงงานผลิตขวดแก้วสีชาของ APG เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์

วิสัยทัศน์ และพันธกิจ คาราบาวกรุ๊ป
               กลุ่มบริษัทฯ มีวิสัยทัศน์ในการดำเนินธุรกิจคือ บริษัทฯ จะเป็นบริษัทชั้นนำในธุรกิจเครื่องดื่มบำรุงกำลังในประเทศไทยและกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม)บริษัทจะสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าด้วยนวัตกรรมทางการตลาดในเชิงรุก บริษัทจะเป็นองค์กรที่มีระบบบริหารจัดการที่มีคุณภาพโดยใช้องค์ความรู้ ขับเคลื่อนธุรกิจและมีความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคม
เป้าหมายและกลยุทธ์ในการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทฯ
สร้างความแข็งแกร่งให้กับกลยุทธ์เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดสำหรับเครื่องดื่มบำรุงกำลังในประเทศ
ขยายตลาดไปยังต่างประเทศกลุ่มบริษัทฯมีกลยุทธ์ในการขยายตลาดไปยังต่างประเทศผลิตผลิตภัณฑ์
ที่มีคุณภาพได้อย่างรวดเร็วและเพียงพอเพื่อตอบสนองความต้องการของร้านค้าและผู้บริโภค
เพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์จากการที่กลุ่มบริษัทฯประสบความสำเร็จในธุรกิจเครื่องดื่มบำรุงกำลังทั้งในประเทศและต่างประเทศบริษัทฯจึงได้พิจารณาขยายโอกาสทางธุรกิจโดยขยายผลิตภัณฑ์ไปยังเครื่องดื่มเกลือแร่ ภายใต้เครื่องหมายการค้า “สตาร์ท พลัส”
มุ่งเน้นการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างมีประสิทธิภาพการจัดหาวัตถุดิบที่มีประสิทธิภาพและคัดสรรวัตถุดิบคุณภาพดีจากคู่ค้าหลายราย ลดการพึ่งพิงการจัดหาวัตถุดิบขวดแก้วสีชาซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักจากผู้ผลิตขวดแก้วภายนอกโดยลงทุนในโรงงานผลิตขวดแก้วสีชาผ่าน APG

เครื่องหมายการค้า “คาราบาวแดง” หรือ “คาราบาว”ที่แข็งแกร่งและสามารถนำไปต่อ ยอดทางธุรกิจในอนาคตโดยเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงจิตวิญญาณการต่อสู้การทำงานหนัก ความอดทน สะท้อนวิถีชีวิตและสังคมความเป็นไทย สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายเครื่องดื่มบำรุงกำลังทั้งนี้กลุ่มบริษัทฯได้ดำเนินการสร้างแบรนด์อย่างยั่งยืนภายใต้แนวคิด“การสร้างคุณค่าชีวิต”ซึ่งเป็นปรัชญาในการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนนำ“แอ๊ด คาราบาว” มาเป็นจุดแข็งในการสื่อสาร สร้างภาพลักษณ์ให้กับสินค้า ด้วยการเป็นทั้ง Presenter และ Brand Ambassador ที่ประสบความสำเร็จเหนือกว่าสินค้าอื่นๆที่มีการนำศิลปินมาเป็น Presenter เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของเครื่องหมายการค้า

โครงสร้างธุรกิจ คาราบาวกรุ๊ป



1. ธุรกิจผลิต ทำการตลาด และจำหน่ายเครื่องดื่มบำรุงกำลัง และเครื่องดื่มอื่นๆ
           ดำเนินงานโดยบริษัท คาราบาวตะวันแดง จำกัด หรือ CBD ซึ่งเป็นบริษัย่อย ของบริษัทฯประกอบธุรกิจผลิต ทำการตลาด และจำหน่ายเครื่องดื่มบำรุงกำลังภายใต้เครื่องหมายการค้าคาราบาวแดงและเครื่องดื่มอื่นๆ ด้วยเทคโนโลยีทันสมัย ณ ปัจจุบัน CBD ผลิตเครื่องดื่ม 2 ชนิด ได้แก่ คาราบาวแดง และ เครื่องดื่มเกลือแร่ภายใต้เครื่องหมายการค้าสตาร์ทพลัส
           CBD ผลิตคาราบาวแดงสองรูปแบบได้แก่ 1.แบบขวดขนาด 150 มิลลิลิตรและ 2.แบบกระป๋องขนาด 250 มิลลิลิตรโดย CBD มีกำลังการผลิตเครื่องดื่มบำรุงกำลังสูงสุด1,080ล้านขวดต่อปี และ350ล้านกระป๋องต่อปี ปัจจุบันกลุ่มบริษัทฯจำหน่ายคาราบาวแดงแบบขวดภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่และจำหน่ายคาราบาวแดงแบบกระป๋องในตลาดต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่สำหรับสตาร์ทพลัส CBD ผลิตในรูปแบบขวดขนาด 250 มิลลิลิตรในปัจจุบัน CBD มีกำลังการผลิตสตาร์ทพลัสสูงสุด120ล้านขวดต่อปีและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวในประเทศทั้งหมด
          ในการจำหน่ายคาราบาวแดงและสตาร์ทพลัสภายในประเทศCBDจะจำหน่ายให้แก่ DCM ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ โดย DCM จะจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของ CBD ให้แก่
           ตัวแทนจำหน่ายเพื่อจำหน่ายสินค้าต่อไปยังร้านค้าแบบดั้งเดิม(Traditional Trade)
ร้านค้าแบบสมัยใหม่(ModernTrade)และในการจำหน่ายคาราบาวแดงไปยังต่างประเทศนั้นจำหน่ายในต่างประเทศเพื่อนำเข้าจัดจำหน่ายและกระจายผลิตภัณฑ์ให้แก่ร้านค้าในต่างประเทศต่อไป



2. ธุรกิจบริหารจัดการการจัดจำหน่าย
               ดำเนินงานโดยบริษัท ตะวันแดง ดีซีเอ็ม จำกัด หรือ DCM ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ ประกอบธุรกิจบริหารจัดการการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ให้แก่ช่องทางการค้าภายในประเทศผ่านร้านค้าแบบดั้งเดิม (Traditional Trade) และร้านค้าแบบสมัยใหม่ (Modern Trade) ปัจจุบันDCM มีทีมฝ่ายขายจำนวนกว่า 160 คน ทั้งนี้ ปัจจุบัน DCM บริหารจัดการการจัดจำหน่ายให้เฉพาะแก่บริษัทในกลุ่ม อย่างไรก็ดี หากมีโอกาสทางธุรกิจ DCM มีความพร้อมที่จะบริหารจัดการการจัดจำหน่ายให้แก่บริษัทนอกกลุ่มด้วย โครงสร้างการประกอบธุรกิจของ DCM สามารถสรุปได้ดังนี้
  •  ช่องทางร้านค้าแบบดั้งเดิม (Traditional Trade)

ทำหน้าที่บริหารดูแลติดต่อและรับคำสั่งซื้อจากเครือข่ายตัวแทนจำหน่ายที่ติดต่อกับร้านค้าแบบดั้งเดิมและสั่งซื้อผลิตภัณฑ์กับCBDเพื่อดำเนินการส่งสินค้าไปยังตัวแทนจำหน่ายและกระจายสินค้าของบริษัทฯ ให้แก่ช่องทางร้านค้าแบบดั้งเดิม
  •   ช่องทางร้านค้าแบบสมัยใหม่ (Modern Trade) 

ทำหน้าที่บริหารดูแลและติดต่อโดยตรงกับร้านค้าแบบสมัยใหม่เช่นร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ต และไฮเปอร์มาร์เก็ตเป็นต้น เพื่อขายสินค้าของ บริษัทฯและรับคำสั่งซื้อจากร้านค้าแบบสมัยใหม่ทีมฝ่ายขายดังกล่าวจะสั่งซื้อผลิตภัณฑ์กับCBDเพื่อให้ดำเนินการส่งสินค้าไปยังศูนย์กระจายสินค้าหรือคลังสินค้าของร้านค้าแบบสมัยใหม่ต่อไป

3. ธุรกิจผลิต และจัดหาขวดแก้ว
ดำเนินงานโดยบริษัทเอเชียแปซิฟิกกลาสจำกัด หรือ APG ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯประกอบธุรกิจผลิตและจัดหาขวดแก้วเพื่อเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตเครื่องดื่มบำรุงกำลังและเครื่องดื่มอื่นๆ ของกลุ่มบริษัทฯ ปัจจุบัน APG จัดซื้อขวดแก้วจากคู่ค้าภายนอก นอกจากนี้ APG อยู่ระหว่างการลงทุนเพื่อสร้างโรงงานผลิตขวดแก้วซึ่งมีกำลังการผลิตสูงสุด 650 ล้านขวดต่อปี เพื่อทดแทนการซื้อขวดแก้วบางส่วนจากบุคคลภายนอกโดยใช้เงินลงทุนทั้งหมดประมาณ 1,600 ล้านบาท โรงงานดังกล่าวแล้วเสร็จ และสามารถดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในเดือนสิงหาคมปี 2557 ปัจจุบัน APG มีแผนที่จะขายขวดที่จัดซื้อและผลิตได้ทั้งหมดให้แก่ CBD


โครงสร้างองค์กร





นโยบายการดูแลกิจการ

                บริษัทฯ ยึดถือและปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีในการดำเนินงานของบริษัทฯ ผ่านทางกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน และถือว่าหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมความสำเร็จในภาพรวมของบริษัทฯ นโยบายการกำกับดูแลกิจการ ของบริษัทฯ เป็นไปตามแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียนปี 2555 (The Principles of Good Corporate Governance For Listed Companies, 2012) ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดนโยบายดังกล่าวครอบคลุมหลักการเกี่ยวกับสิทธิของผู้ถือหุ้น การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ โดยแบ่งเป็นห้าหมวดได้ ดังนี้
  • หมวดที่ 1 สิทธิของผู้ถือหุ้น (The Rights of Shareholders)
  • หมวดที่ 2 การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน (The Equitable Treatment for Shareholders)
  • หมวดที่ 3 บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย (Roles of Stakeholders)
  • หมวดที่ 4 การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส (Transparency)
  • หมวดที่ 5 ความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท

การสรรหาและแต่งตั้งกรรมการและผู้บริหารระดับสูงสุด
  • คณะกรรมการบริษัท
  • คณะกรรมการอิสระ
  • คณะกรรมการตรวจสอบ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
  • คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน

รายละเอียดการกำกับดูแลการดำเนินงานของบริษัทย่อย และบริษัทร่วมตามนโยบายการควบคุมและกลไกการกำกับดูแลกิจการที่บริษัทฯ เข้าไปลงทุนมีดังนี้
  • 1. การใช้สิทธิออกเสียงโดยตัวแทนของบริษัทฯ ในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทย่อยและบริษัทร่วม
  • 2. โครงสร้างการบริหารจัดการของบริษัทย่อย
  • 3. การควบคุมด้านการเงินของบริษัทย่อย